การจัดการก๊าซเรือนกระจกในไทย

การจัดการก๊าซเรือนกระจกในไทย: การปฏิบัติตามมาตรฐานสากลและแนวทางการลดผลกระทบ ก๊าซเรือนกระจก (GHG) คือ ก๊าซที่มีความสามารถในการกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้ในบรรยากาศ และจะปล่อยความร้อนบางส่วนออกไปเพื่อไม่ให้ร้อนมากเกินไป แต่บรรยากาศในปัจจุบันมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ จึงทำให้ความร้อนส่วนเกินไม่สามารถระบายออกจากชั้นบรรยากาศของโลกได้ ก๊าซเรือนกระจก (GHG) คือ ก๊าซที่มีความสามารถในการกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้ในบรรยากาศ และจะปล่อยความร้อนบางส่วนออกไปเพื่อไม่ให้ร้อนมากเกินไป แต่บรรยากาศในปัจจุบันมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ จึงทำให้ความร้อนส่วนเกินไม่สามารถระบายออกจากชั้นบรรยากาศของโลกได้ และเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า “Global Warming” ในปัจจุบันก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆสามารถตรวจวัดได้ จึงเรียกค่านี้ว่า “คาร์บอนฟุตพริ้นท์” โดยมีหน่วยเป็น “ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า” ปัจจุบันในประเทศไทยได้มีการนำมาตรฐานสากลมาปรับใช้ ไม่ว่าจะเป็น GHG Protocol, IPCC และ ISO14064 โดยมีหน่วยงาน “องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (อบก.)” คอยดูแลและกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก   GHG Protocol คือมาตรฐานการทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกสำหรับภาครัฐและเอกชน พัฒนาโดย World Resource Institute (WRI) เป็นการกำหนดมาตรการรายงานให้มี 3 scope ก็คือ (ไทยยึดตัวนี้เป็นหลักก็คือมี 3 scope เหมือนกัน) Scope 1…