ในปัจจุบันหลายบริษัทให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน การจัดทำรายงานความยั่งยืน (Sustainability Report) เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่องค์กรใช้สำหรับเปิดเผยการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กรให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับทราบ อีกทั้งยังเป็นช่องทางสำคัญในการดึงดูดนักลงทุนและเพิ่มความเชื่อมั่นให้ธุรกิจ
ในปัจจุบันหลายบริษัทให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน การจัดทำรายงานความยั่งยืน (Sustainability Report) เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่องค์กรใช้สำหรับเปิดเผยการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กรให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับทราบ อีกทั้งยังเป็นช่องทางสำคัญในการดึงดูดนักลงทุนและเพิ่มความเชื่อมั่นให้ธุรกิจ ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ 3 หมวดหมู่ที่เหลือจาก 6 หมวดหมู่ของการพิจารณาคุณลักษณะอาคารสีเขียว ที่เป็นกรอบการรายงานความยั่งยืน (Sustainability Reporting framework) ที่ได้รับความสนใจและได้ถูกนำมาปรับใช้ในองค์กรทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ของประเทศไทยในปัจจุบัน
อ่านบทความก่อนหน้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 6 หมวดหมู่ของการพิจารณาคุณลักษณะอาคารสีเขียวใน Part 1/2
4. Technology การได้รับรองมาตรฐานด้านเทคโนโลยี (Technology Certification) ช่วยยืนยันว่าอาคารนั้นๆ ตอบสนองมาตรฐานสูงสุดด้านการเชื่อมต่อ (Connectivity) และเทคโนโลยีอัจฉริยะ (Smart Technology) ข้อดีของการรับรองมาตรฐานนี้ ช่วยให้เจ้าของอาคารสามารถยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีภายในอาคาร เพิ่มความน่าสนใจและมูลค่าของอาคาร
ระบบการรับรองมาตรฐานด้านเทคโนโลยีที่นิยมใช้ในภาคธุรกิจของไทย
· WiredScore: ก่อตั้งโดย Arie Barendrecht คือ ระบบการรับรองมาตรฐานสากลที่ประเมินและยกระดับระบบเครือข่ายดิจิทัลและโครงสร้างพื้นฐานของอาคารสำนักงาน
· SmartScore: ถูกพัฒนาโดย WiredScoreระบบการรับรองมาตรฐานสากลที่พัฒนาโดย WiredScore ประเมินและรับรองอาคารอัจฉริยะ โดยมุ่งเน้นที่ความสามารถด้านเทคโนโลยีของอาค
5. Waste
การจัดการขยะตามลำดับความสำคัญ เป็นกรอบแนวทางสำคัญภายในกรอบการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ บรรษัทภิบาล (ESG) ในการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ธุรกิจสามารถลดปริมาณขยะ และนำแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดมาใช้ ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
· LEED Zero: ระบบประเมินอาคาร LEED Zero ประเมินประสิทธิภาพอาคารด้านการใช้พลังงาน การใช้น้ำ และการกำจัดขยะ โดยมุ่งเน้นการใช้น้ำ พลังงาน และการกำจัดขยะ และปล่อยก๊าซคาร์บอน ให้เป็นศูนย์ถูกพัฒนาโดย U.S. Green Building Council (USGBC)
· TRUE (Total Resource Use and Efficiency) Zero Waste: ระบบ TRUE Waste มุ่งเน้นการบริหารจัดการขยะภายในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกพัฒนาโดย Thailand Environment Institute (TEI) โดยลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น และนำวิธีการกำจัดขยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ เช่น การแยกขยะ รีไซเคิล และการทำปุ๋ยหมัก
6. Report
รายงานความยั่งยืน ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสดงความโปร่งใส และความรับผิดชอบต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ บรรษัทภิบาล (ESG) ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสีย และ เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร
รายงานความยั่งยืนที่ครอบคลุม จะช่วยให้องค์กรสามารถดึงดูดนักลงทุน ขับเคลื่อน นวัตกรรม และ ค้นพบจุดที่ต้องพัฒนาต่อไป นอกจากนี้ รายงานที่ละเอียด ยังช่วยให้ธุรกิจเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม และ หลีกเลี่ยงการถูกปรับเงิน
ที่สุดแล้ว การบูรณาการความยั่งยืนเข้ากับกลยุทธ์ธุรกิจหลัก และ การสื่อสารความพยายามอย่างโปร่งใส จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ และมีความยืดหยุ่นในระยะยาว ภายในตลาดที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน
รายงานความยั่งยืนที่นิยมใช้ในภาคธุรกิจของไทย
· Global Reporting Initiative (GRI): GRI ก่อตั้งโดย Ceres และ the United Nations Environment Programme (UNEP) ในปี 1993 โดยให้มีแนวทางมาตรฐานสำหรับบริษัทในการรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ เศรษฐกิจ ช่วยสร้างความโปร่งใสและสามารถเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างบริษัทได้
· Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD): ก่อตั้งโดยFinancial Stability Board (FSB) โดยทาง TCFD แนะนำให้เปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงและโอกาสทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ โดยเน้นที่ การกำกับดูแล กลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยง และตัวชี้วัด
· Carbon Disclosure Project (CDP): CDP ก่อตั้งโดย CDP Worldwide เพื่อมุ่งเน้นการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความเสี่ยงด้านภูมิอากาศ โดยจัดอันดับบริษัทตามความโปร่งใสและประสิทธิภาพ
· 56-1 One Report: 56-1 One Report ผู้ก่อตั้งคือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายของไทยที่ผสมผสานการรายงานทางการเงินและไม่ใช่การเงินไว้ในเอกสารเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภาพรวมของประสิทธิภาพของบริษัท รวมถึงผลการดำเนินงานทางการเงิน การกำกับดูแล และความพยายามด้านความยั่งยืน
หากคุณกำลังมองหา ผู้ช่วยในด้าน ESG เรามีบริการ ดังนี้
· ทีมผู้เชี่ยวชาญ ESG มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษา
· โซลูชั่น ESG ที่ครอบคลุม และตอบโจทย์ความต้องการขององค์กร ธุรกิจ และนักลงทุน
· เครือข่ายพันธมิตรที่กว้างขวาง ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงทรัพยากร และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
รายละเอียดบริการเพิ่มเติม: https://bit.ly/3VjEIQH
ติดต่อเรา
วีรวิทย์ กาญจนเทียมเท่า
ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนภาคธุรกิจอาวุโส
โทร. 089 893 4781
อีเมลล์: veeravit.kanjanathiemthao@th.knightfrank.com