การจัดการก๊าซเรือนกระจกในไทย: การปฏิบัติตามมาตรฐานสากลและแนวทางการลดผลกระทบ
ก๊าซเรือนกระจก (GHG) คือ ก๊าซที่มีความสามารถในการกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้ในบรรยากาศ และจะปล่อยความร้อนบางส่วนออกไปเพื่อไม่ให้ร้อนมากเกินไป แต่บรรยากาศในปัจจุบันมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ จึงทำให้ความร้อนส่วนเกินไม่สามารถระบายออกจากชั้นบรรยากาศของโลกได้
ก๊าซเรือนกระจก (GHG) คือ ก๊าซที่มีความสามารถในการกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้ในบรรยากาศ และจะปล่อยความร้อนบางส่วนออกไปเพื่อไม่ให้ร้อนมากเกินไป แต่บรรยากาศในปัจจุบันมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ จึงทำให้ความร้อนส่วนเกินไม่สามารถระบายออกจากชั้นบรรยากาศของโลกได้ และเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า “Global Warming” ในปัจจุบันก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆสามารถตรวจวัดได้ จึงเรียกค่านี้ว่า “คาร์บอนฟุตพริ้นท์” โดยมีหน่วยเป็น “ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า”
ปัจจุบันในประเทศไทยได้มีการนำมาตรฐานสากลมาปรับใช้ ไม่ว่าจะเป็น GHG Protocol, IPCC และ ISO14064 โดยมีหน่วยงาน “องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (อบก.)” คอยดูแลและกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
GHG Protocol คือมาตรฐานการทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกสำหรับภาครัฐและเอกชน พัฒนาโดย World Resource Institute (WRI) เป็นการกำหนดมาตรการรายงานให้มี 3 scope ก็คือ (ไทยยึดตัวนี้เป็นหลักก็คือมี 3 scope เหมือนกัน)
- Scope 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงขององค์กร
- Scope 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงานที่นำเข้ามาจากหน่วยงานภายนอกองค์กร
- Scope 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ
IPCC เป็นหน่วยงานที่สรุปเกี่ยวกับปัจจัยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบและความเสี่ยงในอนาคต ตลอดจนวิธีที่การปรับตัวและการบรรเทาผลกระทบสามารถเกิดขึ้น และลดความเสี่ยงเหล่านั้น
ISO14064-1 เป็นมาตรฐานการรรายงานเช่นกัน โดยจะแบ่งเป็น 6 category
- ประเภทที่ 1: การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางตรงขององค์กร
- ประเภทที่ 2: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการนำเข้าพลังงานมาใช้
- ประเภทที่ 3: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการขนส่ง
- ประเภทที่ 4: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากผลิตภัณฑ์ที่องค์กรใช้
- ประเภทที่ 5: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้ผลิตภัณฑ์ขององค์กร
- ประเภทที่ 6: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากแหล่งอื่นๆ
CBAM คือมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (เป็นมาตรการกีดกันทางการค้า) ซึ่งเป็นการกำหนดราคาสินค้านำเข้าเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาใน EU ในสินค้า 5 กลุ่มที่มีความเสี่ยงที่มี GHG สูง ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า ซีเมนต์ กระแสไฟฟ้า ปุ๋ย และอลูมิเนียม ซึ่ง CBAM เป็นแรงกดดันทางอ้อมให้ผู้ผลิตสินค้าในประเทศหันมาปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและลดการปล่อยGHG ลง หรือหันมาลงทุนในพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น เพื่อที่จะสามารถแข่งขันและเข้าสู่ตลาด EU ได้
คาร์บอนเครดิต คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ดูดซับ ได้จากการปลูกป่าหรือการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งมีความสำคัญตรงที่สามารถช่วยกระตุ้นการสร้างกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและนำมาขายให้กับองค์กรที่มีความต้องการและ
เป็นกำไรต่อไปได้ เช่น
บริษัท: บริษัทที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสามารถซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซของตนเองและปฏิบัติตามกฎหมายหรือมาตรฐานสิ่งแวดล้อม
ประเทศ: ประเทศที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินเป้าหมายสามารถซื้อคาร์บอนเครดิตจากประเทศที่มีการลดการปล่อยก๊าซมากกว่าที่กำหนดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
บุคคล: บุคคลทั่วไปสามารถซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเดินทางทางอากาศหรือการใช้พลังงานในบ้าน
การทำให้ Carbon Neutral ไม่ใช่เรื่องยาก ขอแค่ลงมือทำก็เป็นไปได้ หลักการคือ ถ้าเราปล่อยคาร์บอนเท่าไหร่ ก็สามารถไปซื้อคาร์บอนส่วนเกินของคนอื่นมาชดเชย หรือ การปลูกป่าชดเชยเองได้กลับกัน การเป็น Net Zero จะต้องเปลี่ยนกระบวนการที่ก่อคาร์บอนเยอะ ให้น้อยลง จนเข้าใกล้ศูนย์ไปเอง โดยที่ไม่ต้องซื้อคาร์บอนของใครมาทดแทน เช่น การเปลี่ยนการผลิตไฟฟ้าของประเทศให้เป็นพลังงานสะอาด เป็นต้น
การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร เชื่อมโยงกับ Net zero emission โดยตรง เพราะการประเมินนี้ช่วยให้องค์กรเข้าใจปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ตนเองปล่อยออกมา และจากนั้นสามารถวางแผนและดำเนินการในทิศทางที่จะลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้เป็น Net zero emission ได้
กลุ่มที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด 4 อันดับแรกคือ
1. ภาคพลังงานและการขนส่ง การผลิตน้ำมัน และ natural gas
2. ภาคการเกษตร
3. ภาคกระบวนการทางอุตสาหกรรม
4. ภาคการจัดการของเสีย เช่น การจัดการขยะมูลฝอยและน้ำเสีย
หากคุณกำลังมองหา ผู้ช่วยในด้าน ESG เรามีบริการ ดังนี้
- ทีมผู้เชี่ยวชาญ ESG มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษา
- โซลูชั่น ESG ที่ครอบคลุม และตอบโจทย์ความต้องการขององค์กร ธุรกิจ และนักลงทุน
- เครือข่ายพันธมิตรที่กว้างขวาง ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงทรัพยากร และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
📌 รายละเอียดบริการเพิ่มเติม: https://bit.ly/3VjEIQH
ติดต่อเรา
วีรวิทย์ กาญจนเทียมเท่า
ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนภาคธุรกิจอาวุโส
โทร. 089 893 4781
อีเมลล์: veeravit.kanjanathiemthao@th.knightfrank.com